SCIWISDOM.COM ติดต่อผ่านไลน์ (Contact SCIWISDOM by LINE Application)

ลูกค้าที่ต้องการสั่งผลิตสินค้ากับทาง SciWisdom (ไซวิสดอม) กรุณาอ่านรายละเอียดตามด้านล่างค่ะ
และสามารถติดต่อกับเราได้ที่
TEL: 02-005-6732
LINE ID: @sciwisdom
Email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ดาวโหลดไฟล์เอกสาร:
1. เงื่อนไขการสั่งผลิตสินค้า (Term and Condition)
2. รายการแคตตาล็อกสินค้าที่ผลิต (Product Catalogue)
3. สัญญาจ้างผลิต (OEM Contract)
4. รายการขวดบรรจุภัณฑ์ (Container Catalogue)
5. แบบสำรวจลักษณะสินค้าที่ต้องการผลิต OEM

รูปแบบการสั่งผลิต OEM

(กรุณาคลิกที่รูปเพื่อดูภาพขยาย)

 

แผนผังการดำเนินการการสั่งผลิตดังนี้ (OEM Flowchart)

(กรุณาคลิกที่รูปเพื่อดูภาพขยาย)

ข้อมูลทั่วไป

รายละเอียดและเงื่อนไขโดยทั่วไป มีดังนี้
ทางบริษัทไม่รับยื่นจดแจ้ง อย. ให้กับเครื่องสำอางที่ผลิตจากแหล่งอื่น
การสั่งผลิตเครื่องสำอางมี 2 แบบ ดังนี้

1. แบบสูตรมาตรฐานของ SciWisdom
ค่าใช้จ่ายโดยประมาณ :
ราคาสินค้าที่สั่งผลิต = ค่าใช้จ่ายขึ้นอยู่กับแต่ละสูตร
ค่าขอรหัสผู้ประกอบการ = 1,000 บาท (จ่ายครั้งแรกครั้งเดียว ถ้ามีรหัสผู้ประกอบการแล้ว ไม่มีค่าใช้จ่าย)
ค่าจดแจ้งอย.ผลิตภัณฑ์ละ = 1,500 บาท/ผลิตภัณฑ์/3ปี (เลขจดแจ้งจะมีอายุ 3ปี)
ค่าธรรมเนียมการต่ออายุเลขจดแจ้ง อย. ผลิตภัณฑ์ละ = 1,500 บาท/ผลิตภัณฑ์/3ปี
ผู้ว่าจ้างส่งสัญญาจ้างทำของ และเอกสารที่จะใช้ในการจดแจ้งอย.กลับมาให้กับทางบริษัทฯ
หมายเหตุ: หากผู้ว่าจ้างไม่มีการสั่งผลิตสินค้าจริงภายใน 30 วันนับจากวันที่แจ้งชำระเงิน ทางผู้รับจ้างขอสงวนสิทธิ์ไม่คืนเงินหรือคืนเป็นสินค้าอื่นๆในทุกกรณี

2. แบบปรับสูตรได้
ค่าใช้จ่ายโดยประมาณ :
ราคาสินค้าที่สั่งผลิต = ค่าใช้จ่ายขึ้นอยู่กับแต่ละสูตร
ค่าขอรหัสผู้ประกอบการ = 1,000 บาท (จ่ายครั้งแรกครั้งเดียว ถ้ามีรหัสผู้ประกอบการแล้ว ไม่มีค่าใช้จ่าย)
ค่าจดแจ้งอย.ผลิตภัณฑ์ละ = 1,500 บาท/ผลิตภัณฑ์
ค่าพัฒนาสูตร = 3,000 บาท/สูตร (จ่ายเฉพาะสูตรใหม่ ถ้าสั่งผลิตตามสูตรเดิมที่เคยผลิตแล้ว ไม่มีค่าใช้จ่าย)
ค่าธรรมเนียมการต่ออายุเลขจดแจ้ง อย. ผลิตภัณฑ์ละ = 1,500 บาท/ผลิตภัณฑ์/3ปี
โดยการพัฒนาสูตร ทางผู้รับจ้างจะส่งตัวอย่าง ปริมาณ 100 กรัม (อาจจะเป็น 2ตัวอย่าง * 50กรัม หรือ 3ตัวอย่าง * 30กรัม ตามแต่จะตกลง) ให้ทางผู้ว่าจ้างเลือกและกรอกแบบฟอร์มเลือกตัวอย่างที่ต้องการสั่งผลิต ส่งกลับมาพร้อมกับสัญญาจ้างทำของ, เอกสารที่จะใช้ในการจดแจ้งอย.

หมายเหตุ:
2.1) หากผู้ว่าจ้างไม่พอใจกับตัวอย่างที่ทางผู้รับจ้างส่ง ไปให้เลือก สามารถปรับสูตรได้ฟรีอีก 1 ครั้ง แต่หากยังไม่พอใจในสูตรอีก จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มครั้งละ 3,000 บาท/สูตร (จะได้ตัวอย่างปริมาณ 100 กรัม และปรับแก้สูตรได้ฟรีอีก 2 ครั้ง)

2.2) หากผู้ว่าจ้างไม่สามารถสรุปสูตรและไม่มีการสั่งผลิตสินค้าจริงภายใน 30 วันนับจากวันที่ผู้รับจ้างส่งตัวอย่างไปให้เลือก ทางผู้รับจ้างขอสงวนสิทธิ์ไม่คืนเงินหรือคืนเป็นสินค้าอื่นๆในทุกกรณี
การสั่งผลิตสินค้าเดิมในครั้งถัดไป ผู้ว่าจ้างจะต้องแจ้งข้อมูลต่อไปนี้เสมอ
- เลขที่ใบรับแจ้งของสินค้าที่ต้องการสั่งผลิต
- รหัสลูกค้าของผู้ว่าจ้าง


ค่าใช้จ่ายในการบรรจุ เป็นดังนี้
​(ลูกค้าเลือกภาชนะบรรจุจากทางบริษัท หรือจัดหาภาชนะบรรจุ, สติกเกอร์, กล่องเองและจัดส่งมาให้ทางบริษัท ก็ได้)
1. บรรจุใส่กระปุก, ขวด และบรรจุภัณฑ์ปากกว้างต่างๆ
- บรรจุอย่างเดียว ชิ้นละ 3 บาท
- ติดสติกเกอร์ เพิ่มอีกชิ้นละ 2 บาท
- ใส่กล่อง เพิ่มอีกชิ้นละ 2 บาท
- Shrink film เพิ่มอีกชิ้นละ 2 บาท

2. บรรจุใส่หลอดที่มีปากขนาดเล็ก เช่น หลอดโฟม, หลอด BB เป็นต้น
- บรรจุอย่างเดียว ชิ้นละ 5 บาท
- ติดสติกเกอร์ เพิ่มอีกชิ้นละ 2 บาท
- ใส่กล่อง เพิ่มอีกชิ้นละ 2 บาท
- Shrink film เพิ่มอีกชิ้นละ 2 บาท


ขั้นตอนการดำเนินการสำหรับการยื่นขออย. มีรายละเอียดดังนี้
(กรุณาศึกษาข้อมูลให้ละเอียด เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการดำเนินการ)

A. ขอรหัสผู้ประกอบการ
เอกสารประกอบ

1. บุคคลธรรมดา
1.1 สำเนาบัตรประชาชน 2 ชุด
1.2 สำเนาทะเบียนบ้าน 2 ชุด
1.3 หนังสือมอบอำนาจและแบบคำขอกำหนดรหัสประจำตัวผู้ประกอบการ (ทางบริษัทจัดส่งทางอีเมล์) 2 ชุด
1.4 แผนที่ตั้งที่อยู่อาศัย/ร้าน/บริษัท 2 ชุด
1.5 แผนผังบริเวณปฏิบัติงาน (ผลิต/บรรจุ/เก็บสินค้า) 2 ชุด

2. บุคคลธรรมดา+ชื่อร้าน
2.1 สำเนาบัตรประชาชน 2 ชุด
2.2 สำเนาทะเบียนบ้าน 2 ชุด
2.3 ทะเบียนพาณิชย์ของร้านค้า 2 ชุด
2.4 หนังสือมอบอำนาจและแบบคำขอกำหนดรหัสประจำตัวผู้ประกอบการ (ทางบริษัทจัดส่งทางอีเมล์) 2 ชุด
2.5 แผนที่ตั้งที่อยู่อาศัย/ร้าน/บริษัท 2 ชุด
2.6 แผนผังบริเวณปฏิบัติงาน (ผลิต/บรรจุ/เก็บสินค้า) 2 ชุด

3. นิติบุคคล (หจก., บจก.)
3.1 หนังสือรับรองจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีเป็นนิติบุคคล) 2 ชุด
3.2 สำเนา ภพ.20 (กรณีเป็นนิติบุคคล) 2 ชุด
3.3 หนังสือมอบอำนาจและแบบคำขอกำหนดรหัสประจำตัวผู้ประกอบการ (ทางบริษัทจัดส่งทางอีเมลล์) 2 ชุด
3.4 แผนที่ตั้งที่อยู่อาศัย/ร้าน/บริษัท 2 ชุด
3.5 แผนผังบริเวณปฏิบัติงาน (ผลิต/บรรจุ/เก็บสินค้า) 2 ชุด

 

B. จดแจ้งผลิตภัณฑ์
รายละเอียดที่แจ้ง
1. ชื่อทางการค้า(แบรนด์) ภาษาไทย/อังกฤษ
2. ชื่อผลิตภัณฑ์ ภาษาไทย/อังกฤษ
3. ลักษณะภาชนะบรรจุ
4. ขนาดบรรจุ
5. รูปถ่ายบรรจุภัณฑ์

สรุปขั้นตอนในการยื่นจด อย.
1. ยื่นผู้ประกอบการ
2. ยื่นจดแจ้งผลิตภัณฑ์

 

ข้อควรรู้

1. ในการยื่นขอรหัสผู้ประกอบการต้องดำเนินการที่ อย. เท่านั้น ส่วนรอบสามปีถัดไป ทาง อย.จะมีหนังสือแจ้งให้ลูกค้าชำระเงินค่าธรรมเนียมทางธนาคารที่ อย. กำหนดไว้

2. ลูกค้าสามารถตรวจสอบเลขที่ใบรับแจ้งของตนเองได้ที่เว็บไซต์ http://pca.fda.moph.go.th/service.php

3. เลขที่ใบรับแจ้งที่ได้รับถือว่าเป็นเลขจำเพาะของสินค้าที่ได้ยื่นจดทะเบียนตามกฏเกณฑ์ อย. ไม่สามารถนำไปใช้กับเครื่องสำอางที่มีสูตร+ชื่อการค้า+ชื่อสินค้า ที่แตกต่างจากที่ระบุไว้ได้ ถ้าฝ่าฝืน ถือว่าเป็นเครื่องสำอางปลอม อาจถูกเพิกถอนเลขที่ใบรับแจ้งและทะเบียนผู้ประกอบการ รวมทั้งอาจได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้

4. การจดแจ้งเครื่องสำอางนั้นไม่ได้หมายความว่าเครื่องสำอางนั้นผ่านมาตรฐาน อย. เพียงแต่เป็นการแจ้งกับ อย. ว่าเครื่องสำอางตัวนั้นใครเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่าย

5. ในใบรับแจ้งจะมีเลข 13 ตัว แต่เลข 13 ตัวนี้ไม่ใช่เลขทะเบียน อย. แต่เป็นเลขการรับจดแจ้งเครื่องสำอาง และจะไม่มีสัญลักษณ์การขึ้นทะเบียน อย. เหมือนกับอาหาร

6. การนำเลข 13 หลัก มาอ้างอิงเป็นเลข อย. โดยจัดทำสัญลักษณ์ อย. ถือว่าผิด เพราะเป็นเพียงเลขจดแจ้งเท่านั้น
การพิจารณาคำที่ใช้เป็นชื่อการค้า หรือชื่อเครื่องสำอาง

7. ชื่อการค้าหรือชื่อเครื่องสำอางอาจเป็นคำที่ใช้เป็นชื่อเฉพาะ สื่อถึงสารเคมี สรรพคุณ รูปแบบ ประเภทของผลิตภัณฑ์ มีเกณฑ์การตั้งชื่อดังนี้
7.1) ชื่อการค้าและชื่อเครื่องสำอาง ที่เป็นภาไทยและอังกฤษต้องมีความหมายสอดคล้องกัน หรือใช้ทับศัพท์
7.2) ไม่ใช้ข้อความทำนองโอ้อวด ไม่สุภาพ
7.3) ไม่ใช้ข้อความที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
7.4) ไม่ใช้ข้อความที่ไม่เหมาะสมกับวัฒนธรรมดีงามของไทย



คำที่ห้ามนำมาใช้

1. สื่อถึงการบำบัด เช่น Cure, Healing, Medicated เป็นต้น
2. สื่อถึงการฆ่าเชื้อโรค เช่น Antiseptic, Disinfectant เป็นต้น
3. สื่อถึงผลต่อสุขภาพ เช่น Slender, Shaper เป็นต้น
4. สื่อถึงการนำผลิตภัณฑ์เข้าสู่ร่างกาย เช่น Injection, Implant เป็นต้น
5. คำที่สื่อถึงสารที่ห้ามใช้ในเครื่องสำอาง เช่น Hormones, Estrogen เป็นต้น
6. คำที่สื่อถึงผลิตภัณฑ์ยา เช่น Botox เป็นต้น

คำที่อาจนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องสำอางได้
1. นำคำที่เป็นชื่อสารมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของชื่อการค้าและชื่อผลิตภัณฑ์ เช่น Vitamic C แสดงว่าสูตรมีสาร Ascorbic acid
2. คำว่า whitening/lightening/brightening เมื่อในสูตรมีสาร เช่น สารป้องกันแสงแดด สารกลุ่ม AHAs เป็นต้น
3. คำว่า Lightening/Brightening เมื่อเป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิว เช่น โฟมล้างหน้า ผลิตภัณฑ์ล้าง/เช็ดผิวหน้า ผลิตภัณฑ์ขัดผิวหน้า เป็นต้น



ข้อชี้แจงเกี่ยวกับการจดแจ้งอย.
การจดแจ้งจะมี บริษัท ไซเอนซ์ วิสดอม จำกัด เป็นชื่อผู้ประกอบการ และชื่อการค้า จะเป็นชื่อแบรนด์ของผู้ว่าจ้าง

คำเตือน
หากผู้ว่าจ้างขาดการเคลื่อนไหวในการสั่งผลิตสินค้ากับทางผู้รับจ้างเป็นระยะเวลามากกว่า 6 เดือน นับจากวันที่ทำการเซ็นต์สัญญา ทางผู้รับจ้างจะดำเนินการยกเลิกเลขที่ใบรับแจ้งของสินค้าดังกล่าวทันที โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

 

ตัวอย่าง ฉลากสินค้าที่เหมาะสม


(กรุณาคลิกที่รูปเพื่อดูภาพขยาย)